ตู้สวิทซ์บอร์ด หรือ ตู้ MDB (Main Distribution Board) เป็นแผงควบคุมไฟฟ้ที่จ่ายไฟฟ้าไปยังจุดต่าง ๆ ของโรงงาน ซึ่งตู้สวิตช์บอร์ดมีให้เลือกหลากหลายแบบมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่อยู่ที่ความเหมาะสม นิยมใช้ในอาคารกลางถึงขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟเป็นจำนวนมาก
1. แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Distribution)
เป็นการแจกจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังพื้นที่ต่างๆในโรงงานหรืออาคารพาณิชย์ ปกติไฟฟ้าแรงดันต่ำแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 400-416VAC, 50Hz
2.ป้องกันระบบไฟฟ้า (Electrical Protection)
เป็นการป้องกันระบบไฟฟ้าหลักของพื้นที่ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติที่จะทำให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้
3. แสดงสถานะการทำงาน (Monitoring)
เป็นการแสดงสถานะการใช้งานและคุณภาพของระบบไฟฟ้า เช่น Power meter ที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ และปริมาณพลังงานไฟฟ้า เช่น แรงดัน , กระแส , ความถี่ , กำลังงานไฟฟ้าจริง , กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เพื่อวัดคุณภาพของการใช้พลังงาน
4. ระบบไฟฟ้าสำรอง (Backup Power)
เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าเมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักขัดข้อง ไฟฟ้าสำรองก็ยังทำงานได้ปกติ
1. สามารถทนความร้อนได้ดี
2. สามารถรับแรงกลจากภายนอกได้
3. ทนต่อการผุกร่อน ที่มาจากความชื้นและสารเคมีได้อย่างดีเยี่ยม
4. ช่วยป้องกันผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณตู้สวิทซ์บอร์ด ไม่ให้เกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า
5. ช่วยป้องกันแผงวงจรที่อยู่ข้างในตู้ จากอากาศข้างนอกไม่ให้เข้าสู่ตัวแผงวงจร
6. ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรได้
อุปกรณ์ที่สำคัญภายในตู้สวิตช์บอร์ด ได้แก่
1.Enclosure (ตัวตู้ด้านนอก)
เป็นโครงตู้ที่ผลิตจากแผ่นโลหะ โดยตัวตู้ด้านนอกจะถูกออกแบบให้สามารถเปิดได้เฉพาะด้านหน้าด้านเดียวหรือเปิดได้ทุกด้านนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งคุณสมบัติที่สําคัญของโครงตู้สวิทซ์บอร์ด ดังนี้
• สามารถรับแรงทางกลจากภายนอกได้ทั้งภาวะปกติและไม่ปกติ
• ทนความร้อนจากสภาพแวดล้อมหรือความผิดปกติในระบบและอาร์กจากการลัดวงจร
• ทนต่อการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้
• ช่วยป้องกันอันตรายไม่ให้ผู้อยู่ใกล้ตู้สวิทช์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ
• ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากน้ำ วัตถุแข็ง สัตว์เลื้อยคลาน เข้าไปในตู้
• ป้องกันอันตรายจากการอาร์กที่รุนแรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา
2.BusBar (ตัวนําไฟฟ้า)
จะมีแบบทองแดงพร้อมกับอลูมิเนียม ลักษณะของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันจะเป็นรูปแบบพื้นที่หน้าตัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะสามารถติดตั้งได้ง่าย ถ่ายเทความระบายความร้อนดี ซึ่งตัวนำไฟฟ้าที่ใช้กับตู้สวิทซ์บอร์ดจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. บัสบาร์ประเภทเปลือย
2. บัสบาร์แบบทาสี
3.Circuit Breaker (อุปกรณ์ที่ทำงานเปิดและปิดวงจรไฟฟ้า)
เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ภายในตู้สวิทซ์บอร์ดที่มักเรียกกันว่า เบรกเกอร์ ซึ่งหน้าที่ของเบรกเกอร์ คือ จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับแผงวงจรไฟฟ้า สายไฟ มอเตอร์ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆที่ใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
4.Miter (อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า)
เครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้สวิทช์บอร์ดทั่วไปคือ โวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์ ซึ่ง ต้อง ลใช้งานร่วมกับ Selector Switch เพื่อวัดแรงดันหรือกระแสในแต่ละเฟส พิกัดแรงดันของโวลต์มิเตอร์คือ 0-500V. ส่วนพิกัดกระแสของแอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Current Transformer เช่น 100/5A. เป็นต้น
5.Other Devices (อุปกรณ์ติดตั้งตัวอื่นๆ)
ดังนั้นจะเห็นว่าตู้สวิทซ์บอร์ดนั้นมีความสำคัญต่อระบบไฟฟ้าโรงงานเป็นอย่างมาก หากต้องการติดตั้งตู้สวิทซ์บอร์ด บริษัท ที.ที.คอนโทรล ซิสเต็มส์ จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะตู้สวิทซ์บอร์ด รับผลิตติดตั้งตู้สวิทซ์บอร์ด ซ่อมตู้คอนโทรล ประกอบตู้คอนโทรล ซ่อมบำรุงตู้สวิทซ์บอร์ด รับเหมาออกแบบตู้สวิทซ์บอร์ด และจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง-แรงต่ำ ที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม
สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ที.ที.คอนโทรล ซิสเต็มส์ จำกัด
ttcontrol.brandexdirectory.com
www.ttcontrolsystems.com
www.ตู้สวิทซ์บอร์ด.com